วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ธรรมะสอนใจ:อาหารสมอง

คุณพระช่วย

เกร็ดความรู้เรื่องดวงตา (womanplus)

  
          รู้หรือไม่ว่าผิวที่มีอาการแพ้ระคายเคือง บวมแดง และมีริ้วรอยที่เกิดขึ้นจาก  "ธาตุไฟไม่สมดุล" สามารถเกิดขึ้นเช่นกันกับผิวละเอียดอ่อนบริเวณรอบดวงตา อาการธาตุไฟไม่สมดุลนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ง่าย โดยอากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา รวมทั้งปัจจัยความเครียด และความเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญ อาการจะแสดงออกมาในรูปแบบของความหมองคล้ำ บวมแดงอย่างเห็นได้ชัดกว่าบริเวณอื่นๆ 

          ทั้งนี้เพราะผิวบริเวณรอบดวงตานั้นมีความละเอียดอ่อน และบอบบางมากกว่าผิวในบริเวณอื่นๆ และยังเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทและเซลล์ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ที่ไวต่อการร่วงโรยและถูกทำร้ายได้ง่าย และคุณรู้อีกหรือไม่ว่า คุณเองอาจจะทำร้ายผิวบริเวณรอบดวงตาให้ช้ำ หมองคล้ำมากขึ้น เพราะการทำความสะอาดผิวหรือเมคอัพรอบดวงตาก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำร้ายผิวแสนบอบบาง

          เคล็ดลับคงความอ่อนเยาว์ของดวงตาจาก ดร.แอนดรูว์ ไวล์
          เข้ารับการตรวจตาเป็นประจำทุกๆ 2-4 ปี และทุกๆ 1-2 ปี สำหรับอายุ 65 ปีขึ้นไปสำหรับผู้ที่ต้องจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เริ่มฝึกนิสัยในการพักสายตาโดยการมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 10-15 นาที สวมใส่แว่นตาดำที่สามารถปกป้อง และกรองแสงยูวี ทุกๆ ครั้งที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งปกป้องและระวังไม่ให้ดวงตาสัมผัสควัน และฝุ่นละอองต่างๆ โดยตรง

          อาหารเสริมเพื่อดวงตาสดใส
          บริโภคผัก ผลไม้ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (anti oxidant) ในปริมาณสูง
          เช่น ผิวบิลเบอร์รี่ ผักใบเขียว และแครอท ช่วยลดอันตรายจากอนุมูลอิสระในแสงแดดที่ทำลายจอตา และช่วยลดปัญหาตาบอดจากจอประสาทตาเสื่อมได้ พร้องทั้งช่วยให้สายตาทำงานดีขึ้นในที่มืดและมีความไวในที่มีแสงน้อยๆ ดีกว่า

          บริโภคผัก ผลไม้ ที่มาสรลูทีน (Lutien) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)
          เป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งมีสีเหลือง พบมากในพืชผักที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม ที่สามารถพบได้ในผลอโวคาโด บล็อกโคลี่ ข้าวโพด ฟักทอง ผักโขม และผักกวางตุ้ง เป็นสารธรรมชาติที่พบมากในตาบริเวณจุดรับภาพและจอประสาทตาทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดด ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการต้านอนุมูลอิสระที่ทำลายดวงตา และกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลักการการศึกษาปฐมวัย

เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุล  และเต็มตามศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
                . ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
                .ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
                .พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
                .จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
                .ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง ๕ ปี* บนพื้นฐาน  การอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตาม ศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรม ที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม